จำหน่ายเครื่องเบญจรงค์ เครื่องลายคราม ผลิตภัณฑ์เซรามิค ราคากันเอง

วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560



การดูแลกระเบื้องพอร์ซเลนและเซรามิค




การทำความสะอาด 

กระเบื้องพอร์ซเลนและเซรามิคที่มีฝุ่นเกาะส่วนใหญ่จะล้างทำความสะอาดได้ เพราะโดยปกติจะใช้การลงสีและเคลือบผิวด้วยความร้อน จึงไม่เกิดการหลุดร่อนหรือความเสียหายเมื่อล้างด้วยน้ำเปล่าหรือการทำความสะอาดอย่างทะนุถนอม โดยใช้ก้านสำลีจุ่มน้ำเล็กน้อยเช็ดลงในบริเวณสีเคลือบที่ไม่เด่นนัก ถ้าปลายสำลีติดสีออกมาก็ให้หยุดทันที ซับด้วยผ้าแห้ง และควรส่งให้ผู้เชี่ยวชาญดูแลต่อไป

วิธีการปัดฝุ่นและการล้าง 
- แปรงขนอ่อน 2 ด้าม (ขนาดความยาวของปลายขนประมาณ 2-3 นิ้ว)
- ก้านสำลีทำความสะอาด
- ไม้จิ้มฟัน
- กระดาษกาวแบบกันน้ำ
- ยางลบดินสออย่างดี
- กระบอกฉีดน้ำพลาสติก
- กระดาษทำความสะอาด 
- ผ้าเช็ดตัวเก่า ๆ สะอาด ๆ 
- น้ำยาล้างจาน
- แอลกอฮอล์

การปัดฝุ่น 
ใช้เแปรงขนอ่อนปัดฝุ่นที่ติดอยู่ตามซอกต่างๆเบา ๆ ระวังอย่าให้ด้ามแปรงไปกระแทกกับตัวงาน ห้ามใช้ที่เป่าผมโดยเด็ดขาด เพราะในจุดที่เป็นรายละเอียดต่าง ๆ อาจแตกได้ง่ายเนื่องจากลมที่แรงเกินไป

การล้าง 
เตรียมพื้นที่บริเวณที่จะล้างให้พร้อมก่อนลงมือ ทางที่ดีควรเตรียมโต๊ะครัวและท้อปเคาน์เตอร์ใกล้อ่างล้างจาน เท่านี้ก็จะมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการทำงาน ปูผ้าเช็ดตัวเก่า ๆ บริเวณโดยรอบอ่างล้างจานด้วย เติมน้ำอุ่นสะอาด ๆ ลงไปในอ่างล้างจานให้มีความสูงประมาณ 2-3 นิ้ว ถ้าเป็นหัวก๊อกแบบปรับได้ ให้ขยับหัวก๊อกน้ำให้พ้นจากอ่าง ถัดจากอ่างให้วางอุปกรณ์ในการทำความสะอาดทั้งหลาย เติมน้ำอุ่น ๆ ลงในกระบอกฉีดน้ำพอประมาณ 

งานกระเบื้องพอร์ซเลนหรือกระเบื้องเซรามิคบางชิ้น ด้านในจะกลวงและไม่ได้เคลือบ และมักจะมีรูระบายอากาศเล็ก ๆ หลาย ๆ รู ซ่อนอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เป็นที่สังเกต เพื่อให้อากาศได้ระบายออกในขณะเผา ให้หาตำแหน่งของรูเหล่านั้นแล้วอุดด้วยไม้จิ้มฟัน ซึ่งส่วนใหญ่จะมีรูขนาดใหญ่ 1 รู ที่ฐานหรือด้านล่างของชิ้นงาน ให้ใช้กระดาษกาวปิดทับรูดังกล่าว เพื่อป้องกันเชื้อราข้างในงานของคุณ

การทำความสะอาดชิ้นแต่ละชิ้น 
งานชิ้นเล็ก ๆ สามารถล้างด้วยน้ำอุ่นโดยตรงจากก๊อกหรือกระบอกฉีดน้ำ โดยให้น้ำไหลช้า ๆ และใช้แรงดันต่ำ ๆ เพราะแรงดันน้ำที่สูงเกินไปอาจทำให้ส่วนที่เป็นรายละเอียดเสียหายได้ งานที่มีขนาดใหญ่ควรแช่ในอ่างล้างจาน ระวังอย่าให้ถูกหัวก๊อก และอาจใช้กระบอกฉีดน้ำที่ใส่น้ำอุ่นแทนก็ได้ ใช้แปรงขนอ่อนจุ่มใช้สบู่เหลวหรือน้ำยาล้างจาน เช็ดทำความสะอาดตามซอกต่าง ๆ ให้เกิดฟองปกคลุมทั่วทั้งชิ้นงาน ระวังอย่าให้ด้ามแปรงกระแทกกับชิ้นงาน ทำความสะอาดด้วยการหมุนแปรงเป็นวงกลมจนกระทั่งงานสะอาดดี จุ่มลงในน้ำอุ่นสะอาด ๆ หลังจากนั้นให้วางลงบนผ้าที่วางอยู่บนโต๊ะครัว ปล่อยให้แห้งเอง ห้ามใช้ผ้าเช็ด หรือเครื่องเป่าผม เพราะจะทำให้ส่วนที่เป็นรายละเอียดแตกหักได้ อาจจะทำซ้ำสัก 2-3 ครั้ง เพื่อให้สิ่งสกปรกหรือรอยเปื้อนหมดไป บางครั้งสบู่เหลวหรือน้ำยาล้างจานก็ไม่สามารถล้างคราบสกปรกออกได้หมด ซึ่งอาจจะใช้แอลกอฮอล์หรือน้ำยาทำความสะอาดแก้ว ทำความสะอาดคราบสกปรกที่ฝังลึก ใช้ก้านสำลีชุบแอลกอฮอล์หรือน้ำยาทำความสะอาดเครื่องแก้ว ทำความสะอาดเฉพาะบริเวณรอยเปื้อนเท่านั้น เช็ดเบา ๆ จนสะอาด ล้างออกด้วยน้ำอุ่นสะอาด ๆ ทิ้งไว้ให้แห้ง

ในกรณีที่คราบสกปรกติดแน่นมาก ๆ และไม่สามารถล้างออกได้ด้วยวิธีการดังกล่าว คุณอาจจะลองใช้ยางลบดินสอ ควรเลือกชนิดที่ไม่มีสารขัด เช่น ทราย หรือผงแก้ว ซึ่งอาจทำให้เกิดรอยขีดข่วนหรือทำให้สีเคลือบหมองลงไป ซึ่งคุณสามารถตัดยางลบให้เป็นปลายแหลม ๆ เพื่อให้สะดวกในการลบบริเวณรายละเอียดที่เล็ก ๆ ไม่ควรออกแรงลบจนหนักเกินไป 


ถ้าคุณลองทำความสะอาดเองแล้วไม่ได้ผล หรือไม่ต้องการลงมือทำด้วยตนเอง ควรส่งให้ผู้เชี่ยวชาญในการซ่อมคือผู้ที่ได้ผ่านการฝึกฝนมาอย่างดี และใช้วัสดุในการทำความสะอาดอย่างดีที่ไม่มีขายในท้องตลาด 

การซ่อมแซม 
ความเสียหายที่เกิดกับกระเบื้องเซรามิคและพอร์ซเลน สามารถซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิมได้ ซึ่งมี 2 วิธีคือ

Cold repair 
ผู้เชี่ยวชาญจะใช้กาวชนิดพิเศษ วัสดุอุดยาแนว สีและน้ำยาเคลือบ ที่ไม่ต้องอาศัยความร้อนแต่สามารถคงสภาพอยู่ได้นาน ซึ่งเทคนิคการซ่อมแบบนี้สามารถปรับเปลี่ยนได้ เป็นวิธีที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป เป็นวิธีการที่ง่ายดายและถูกกว่า การซ่อมแบบนี้สามารถใช้ได้กับวัสดุทุกชนิด ทุกยี่ห้อ

Fired repair 
ผู้เชี่ยวชาญจะใช้สีเคลือบ สี วัสดุอุดยาแนว ชนิดพิเศษ ที่ต้องอาศัยการเผา ซึ่งมีความคงทนอยู่ได้นานมาก การซ่อมแบบนี้ไม่สามารถเปลี่ยนได้เลย เทคนิคนี้ใช้โดยผู้เชี่ยวชาญเพียงไม่กี่คนเท่านั้น เพราะความยากและเเพงกว่าการซ่อมแบบ Cold repair การซ่อมแบบนี้มีข้อจำกัดหลายอย่างและไม่สามารถใช้ได้กับวัสดุทุกชนิด และทุกยี่ห้อ

ประเภทของความเสียหายที่สามารถซ่อมแซมได้ด้วยวิธีการเหล่านี้ 
- สีหรือสีเคลือบซีดจาง 
- แตก หัก ร้าว
- แตกลายงา
- การต่อชิ้นส่วนที่หายไป
- รอยเปื้อน

ลบคราบบนแก้วเซรามิค


แก้วเซรามิค หรือแก้วมัค (mug) ที่นิยมใช้ใส่กาแฟ หรือ ชา มักเกิคคราบได้ง่าย โดยเฉพาะคราบชากาแฟที่เกาะติดดูสกปรก แต่ก็มีวิธีล้างให้สะอาดได้ไม่ยากเลย โดยให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

อุปกรณ์
1. ผงฟู (ต่อถ้วย) 1 ช้อนโต๊ะ
2.
น้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะ
3.
แปรงสีฟันเก่าๆ

ขั้นตอนการทำความสะอาด
1. เติม ผงฟู 1 ช้อนโต๊ะลงในแก้วที่มีคราบ
2. เติม น้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะ
3.
ใช้แปรงสีฟันคนส่วนผสมทั้งสองให้เข้ากัน เน้นว่าต้องให้ส่วนผสมสูงท่วมคราบในแก้ว แช่ทิ้งไว้นาน 10 นาที
4.
ขัดภายในแก้วด้วยแปรงสีฟันหรือผ้าขัดถูในห้องครัว ล้างออกด้วยน้ำอุ่น
เท่านี้แก้วเก่าไม่น่าดื่มก็กลับมาเหมือนใหม่ ง่ายๆ

วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2560

เซรามิกในชีวิตประจำวัน

อะไรคือเซรามิก

     เมื่อพูดถึงเซรามิก เชื่อว่าทุกคนคงจะรู้จักเพราะเป็นวัสดุอย่างหนึ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ซึ่งเราควรที่จะทำความเข้าใจให้มากขึ้นเกี่ยวกับสมบัติและลักษณะการใช้งานของเซรามิก เพื่อเป็นประโยชน์ในการเลือกใช้เซรามิกได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
     ในขั้นตอนแรกเรามาทำความเข้าใจก่อนว่า เซรามิกนั้นแท้จริงแล้วหมายถึงอะไร อะไรบ้างที่เรียกว่าเซรามิก ความหมายกล่าวโดยกว้าง ๆ ก็คือ เซรามิกนั้นหมายถึงวัสดุที่เป็นสารอนินทรีย์ ทำจากวัตถุดิบหลายชนิดเช่น ดิน ทราย แร่ต่าง ๆ ที่นำมาผสมกันและขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ที่สำคัญต้องผ่านการเผาที่อุณหภูมิสูง เพื่อให้เนื้อของวัสดุมีความแข็งแกร่งและคงรูป

ลักษณะและคุณสมบัติของเซรามิก

     ต่อไปเราจะมามองดูว่าผลิตภัณฑ์เซรามิกที่เกี่ยวข้องกับชีวิตเรานั้นมีอะไรบ้าง เราสามารถแบ่งเซรามิกตามลักษณะของการใช้ได้ดังนี้คือ
              เซรามิกที่ใช้บนโต๊ะอาหาร ประกอบด้วยพวก ถ้วย ชาม จาน ใช้เป็นภาชนะบรรจุอาหาร เป็นส่วนที่ต้องให้ความสำคัญเพราะเป็นภาชนะที่สัมผัสกับอาหารก่อนที่เรารับประทาน



วันอังคารที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2560

กระถางเซรามิคประดับพระเมรุมาศ

ศิลปะเซรามิกเถ้าฮงไถ่ สู่กระถางในงานพระราชพิธี ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 


กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้โรงงานเถ้าฮงไถ่ จ.ราชบุรี ออกแบบและจัดทำกระถางชุดพระปรมาภิไธยย่อ ภปร -  ตราจักรี ประดับพระที่นั่งทรงธรรม พลับพลายกสนามหลวง ทำตามแบบฉลอง 200 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ และฉลอง 60 ปีครองราชย์ ในหลวง ร.๙ ส่วนกระถางใหญ่ลายเลข ๙ ประดับภูมิสถาปัตย์โดยรอบ